ดื่มอย่างไรไม่ให้ เมา
เคล็ดลับสุขภาพ ด้วย Body Wash
ดื่มอย่างไรไม่ให้ เมา Healthy Beauty for Women One Day Body Washเมาปลิ้นทุกช่วงเทศกาล อาจเป็นคำขวัญประจำใจของคนชอบดื่ม คนเมามักจะบอกว่าไม่เมา ดื่มเท่าไหร่ก็ไม่เมา แต่หารู้ไม่ว่า ระดับการเมาของคนบางคนไม่เท่ากัน บางคนรู้สึกตัวมีสติรู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไร และคิดว่าไม่เมา แต่เมื่อมีการทดสอบทางด้านสายตา การตื่นตัวกลับอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ เรียกว่า ระดับมันสมองและการตัดสินใจเทียบเท่าเด็ก 10 ขวบ ขาดเหตุผลและความนึกคิด นั่นถือว่า เมา
แต่จะเมามากเมาน้อย อยู่ที่อัตราการรับแอลกอฮอล์เข้าไปในกระแสเลือด รับไปมากเกินสติจะควบคุม เรียกกันว่า เมาปลิ้น
ในช่วงเทศกาลเรามักจะได้ยินเสียงโห่ร้องและการเฉลิมฉลองต่างๆ แว่วมาแต่ไกล และในขณะเดียวกันก็จะได้ยินเสียงไซเรนจากรถพยาบาลที่กำลังส่งผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุไปยังโรงพยาบาลใกล้ๆ เพราะช่วงนี้ถือว่าจะมีอุบัติเหตุมากเป็นพิเศษ และจากการชันสูตรศพที่ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พบว่าประมาณ 33% ของผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุนั้น มีแอลกอฮอล์ในเลือด
ระดับแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม
- เบียร์ ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพืชหรือข้าวมอลต์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 10-15%
- ไวน์ ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากผลไม้ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 15-20%
- บรั่นดี ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากการกลั่นไวน์หรือผลไม้อื่น มีปริมาณแอลกอฮอล์ 45-60%
- วิสกี้ ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากข้าวบาร์เลย์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 45-60%
- วอดก้า ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากมันฝรั่ง มีปริมาณแอลกอฮอล์ 45-50%
- รัม ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำตาล มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40-95%
ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มแล้ว จะมีกระบวนการต่างๆ เกิดขึ้น เริ่มจากการดูดซึมในระบบทางเดินอาหารแล้วแอลกอฮอล์ก็จะกระจายไปยังอวัยวะต่างๆ เกิดกระบวนการเมตาบอลิสม์โดยระบบเอนไซม์ในตับแล้วขับออกจากร่างกาย การดูดซึมแอลกอฮอล์เกิดได้ทุกบริเวณของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะเกิดขึ้นมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับผลต่างของความเข้มข้นและระยะเวลาที่สัมผัสทางเดินอาหาร การไหลเวียนของเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณดังกล่าวและพื้นผิวในการดูดซึม
โดยลำไส้เล็กมีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซึมแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป ซึ่งจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วและระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในการดึ่มเพิ่ม และมีการแพร่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสมอง การดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรกและดื่มในปริมาณน้อย (ต่ำกว่า 60 มก.%) แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์ต่อสมอง ทำให้ผู้ดื่มเกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีอาการตื่นเต้น เพราะแอลกอฮอล์จะไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองบางส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมเป็นอิสระ เหมือนได้รับการกระตุ้น
แต่หากการได้รับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงขึ้น 80-100 มก.% จะเริ่มแสดงอาการเป็นพิษ เช่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ สูญเสียการทรงตัวและการมองเห็น สมาธิสั้น ความจำสั้น อาจหมดสติได้ง่ายจนทำให้เสียความสามารถในการควบคุม แบบนี้เรียกว่าเมาปลิ้นจริงๆ
คงจะรู้แล้วว่า ควรดื่มเท่าไหร่ และดื่มอะไรไม่ให้เมา ที่สำคัญ อย่าดื่มจะดีกว่า จะได้ไม่เมา
เครดิตภาพ ตามลายน้ำ